วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรตะไคร้หอม

สมุนไพรกันยุง ตะไคร้หอม
มาทำความรู้จักตะไคร้หอม หนึ่งในน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช ้กันยุง โดยเป็นอีกกลิ่นหนึ่ง
ที่ได้รับความนิยม และสามารถใช้ได้ดีกับ โคมไฟ อโรมา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)

ตะไคร้หอม สรรพคุณ เป็น สมุนไพรกันยุง

ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไครมะขูด

ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ
กว้าง 5-20 มม.
ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา
ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น

ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม.
รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก

ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก
แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย

การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ


สรรพคุณ
ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน
ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง
อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์
(70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู
ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม
มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal
เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง โดยเฉพาะ กันยุง จากการวิจัยพบว่า
ทั้งต้นใช้กันยุงได้ ปัจจุบันจึงมีผู้สะกัด เอาสมุนไพรชนิดนี้มาทำเป็น โลชั่นกันยุง บ้าง
น้ำมันหอมระเหย กลิ่นตะไคร้ ไล่ยุง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ตะไคร้หอมที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยมี 2 ชนิดคือ
Lenabuta เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากประเทศลังกา
และอีกชนิดคือ Mahapengiri เป็นพันธุ์ที่ได้จากประเทศอินโดนีเซีย บริเวณเกาะชวา
ปัจจุบันมีการปลูกแพร่หลายเข้าไปในหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศในอเมริกาใต้
เป็นต้น ตะไคร้หอมที่ได้จากชวาจะมีสาร geraniol, citronellal มี aldehyde
และ total alcohol ไม่น้อยว่า 35 % เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี acetylation
เป็นผลให้น้ำมันที่ได้จากตะไคร้หอมชนิดชวามีคุณภาพดีกว่าชนิดลังกา
ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาปลูกนานแล้วผู้ที่นำเข้ามาคือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์
โดยนำเข้ามาจาก อินเดียและนำไปปลูกที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีเป็นที่แรก
ปัจจุบันมีการนำไปปลูกทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น