วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

 สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

 ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]

ไม้ไผ่แปรรูป
ไม้ไผ่ ถือเป็นพืชที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน เราสามารถนำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอาหาร สร้างบ้านเรือน ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ทำเครื่องดนตรี ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนี้ในบางประเทศยังมีการวิจัยไม้ไผ่ผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มและสกัดเป็นน้ำมันดิบเพื่อใช้เป็นพลังงาน เรียกว่าเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนอย่างแท้จริง

สำหรับในแวดวงอุตสาหกรรมไม้แปรรูปนั้นต้องยอมรับกันตามตรงว่าไม้ไผ่ยังมีข้อด้อยในการนำมาใช้งานหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาหลักเรื่องแมลงในเนื้อไม้ ทั้งยังไม่มีรูปแบบไม้ให้เลือกใช้หลากหลาย คอลัมน์ “ดูเขาทำ ฟังเขาพูด” ฉบับนี้ จะพาไปชมการผลิตไม้ไผ่ที่ลบความคิดแบบเดิมๆข้างต้นให้กลายเป็นไม้ที่ทนทาน ใช้งานได้ดีไม่แพ้ไม้ประเภทอื่น อยากรู้ว่าเป็นอย่างไรตามไปชมกันค่ะ


ไปดูแหล่งไม้ไผ่กันถึงถิ่น
ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ไผ่มากมายกระจัดกระจายขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค สำหรับแหล่งไม้ไผ่แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งที่หลายคนรู้จักกันดีคือจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เขตจังหวัดนี้เราก็เห็นสวนไผ่เป็นระยะ และผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่หลากหลายชนิดตลอดสองข้างทาง ซึ่ง คุณธนา ทิพย์เจริญ เจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัท พิมธา จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ภายใต้แบรนด์ Za-baai Bamboo เล่าว่าเขาเป็นคนที่นี่และเห็นไม้ไผ่มาตั้งแต่เด็ก จึงคิดว่าไม้ไผ่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้อีกมากมาย นอกเหนือไปจากรูปแบบที่เห็นกันตามท้องตลาดทั่วไป

“ที่นี่เป็นแหล่งไม้ไผ่อยู่แล้วครับ ผมมองว่าน่าจะมีอะไรที่พัฒนาไปจากผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านทั่วไปทำอยู่ อะไรที่จะเพิ่มมูลค่าได้สูงกว่าแค่นำมาทำแคร่หรือเครื่องจักสาน ซึ่งจริง ๆแล้วในตลาดโลกมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่มานาน อาจเทียบได้ว่าไปไกลกว่าที่คนไทยรู้จักกันถึง 50 ปี เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อาร์เจนตินา ประเทศเหล่านี้มีการนำไม้ไผ่มาสร้างอาคารกันอย่างจริงจัง ซึ่งสิ่งที่ผมทำอยู่คือพยายามไล่ตามนานาชาติให้ได้มากที่สุด

“ที่นี่ก่อตั้งมาได้ 12 ปีครับ เริ่มแรกผมผลิตสินค้าทั่วไป ตัดไม้มาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าอี้ และเริ่มพัฒนาแบบจากไม้ท่อนกลมๆมาทำให้แบนใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นพื้นปาร์เกต์ ซึ่งพอเริ่มทำไม้ไผ่เป็นแผ่นแล้ว จะทำอะไรก็ง่ายขึ้น เรียกว่านำไปสร้างบ้านได้ทั้งหลังเลยครับ สำหรับผลงานที่ภูมิใจที่สุดคือโครงการ Soneva Kiri by Six Senses เกาะกูด รีสอร์ตระดับห้าดาว ซึ่งใช้ไม้ไผ่แปรรูปจากที่นี่ไปใช้ตกแต่งภายในห้องพักและทำเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด

Tip ไม้ไผ่ที่นำมาผลิตทั้งหมดมาจากจังหวัดปราจีนบุรี แถบอำเภอเมืองฯและประจันตคาม บางส่วนสั่งจากจังหวัดนครนายก ชนิดของไม้ไผ่ท้องถิ่นนี้คือไผ่ตงซึ่งมีเนื้อหนา ลำต้นใหญ่ ยาวและตรง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5-8 นิ้ว อยู่ในสกุล Dendrocalamus ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับไผ่ซางในแถบภาคเหนือ มีความแข็งแรง จึงนิยมนำมาใช้กับงานโครงสร้างต่าง ๆ นอกจากไผ่ตงแล้ว ยังมีไผ่เลี้ยงอยู่ในสกุล Bambusa ซึ่งเป็นไผ่ขนาดเล็ก ลำเล็กสุดขนาดไม่เกิน 2.5 นิ้ว นิยมทำเป็นงานตกแต่งแบบโชว์ไม้ทั้งลำ
ภาพที่ 2 ไม้ไผ่ที่นำมาใช้งานต้องมีอายุที่เหมาะสม (ประมาณ 3 ปีขึ้นไป) หากใช้ไม้อ่อนเกินไปเนื้อไม้จะยุบตัว

ถาม-ตอบ เรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับไม้ไผ่
ระบบการเตรียมไม้ไผ่เพื่อนำไปผลิตเป็นวัสดุตกแต่งบ้านของที่นี่จะใช้วิธีเช่นเดียวกับการผลิตไม้ทั่วไป จึงสามารถยืดอายุการใช้งานได้นานถึง 10-20 ปี อย่างไรก็ตามหลายคนอาจยังมีสงสัยเกี่ยวกับไม้ไผ่ ซึ่ง

“บ้านและสวน” หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ
บ้านและสวน : ไม้ไผ่เป็นไม้ราคาถูก การอัดน้ำยาเพื่อรักษาคุณภาพไม้จะคุ้มค่าจริงหรือ
Za-baai Bamboo : ประเทศไทยมีไม้ให้เลือกใช้หลายชนิด คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมากกว่า การพัฒนาไม้เนื้ออ่อนจึงไม่มีมากนักและยังถูกมองข้ามประโยชน์ของมันไป ไม้ไผ่ถือว่าเป็นไม้ราคาถูก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว ความคิดที่จะนำไม้ไผ่มาอัดน้ำยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ หลายคนจึงรู้สึกว่าแพงและไม่คุ้มค่า แต่จริง ๆแล้วไม้ไผ่หลังจากอัดน้ำยาและอบแห้งเรียบร้อย ราคาจะสูงกว่าไม้ไผ่ธรรมดาไม่มากนัก แต่ใช้งานได้ยาวนานขึ้นหลายเท่าตัว

บ้านและสวน : ไม้ไผ่แปรรูปเป็นอะไรได้บ้างและมีข้อดีอย่างไร
Za-baai Bamboo : เดิมทีเราเน้นทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่เป็นหลัก แต่ปัจจุบันหันมาพัฒนาเป็นวัสดุตกแต่งผิวและสร้างบ้าน เช่น พื้นปาร์เกต์ ฝ้าเพดาน ผนัง เสา และหลังคา ซึ่งความสวยงามอยู่ที่ลวดลายของเนื้อไม้ที่แตกต่างจากไม้ชนิดอื่นอย่างสิ้นเชิง เป็นความสวยงามเฉพาะตัว เมื่อนำไปทดสอบพบว่ามีความแข็งแรงสูง รับแรงกดได้สูงมากโดยไม่หัก เมื่ออบไม้จนแห้งไม้จะมีการเซตตัวไม่ยืดไม่หด และมีการบิดตัวน้อย แต่จุดอ่อนคือเหมาะสำหรับใช้งานภายในมากกว่างานภายนอก

บ้านและสวน : มีวิธีการเตรียมไม้ไปใช้งานอย่างไรบ้าง
Za-baai Bamboo : เราเริ่มศึกษาค้นคว้าโดยเริ่มจากหาวิธีป้องกันมอดก่อนอันดับแรก ใช้เวลาอยู่ประมาณ 2-3ปี จนเข้าใจ จากนั้นก็เริ่มพัฒนาเรื่อยมา การผลิตใช้โดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Vaccum Pump) จนกระทั่งอากาศภายในถังรวมถึงภายในเนื้อไม้ออกจนหมดจึงไม่มีสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้ แมลงหรือไข่ที่ติดมาจึงตายหมดแน่นอน จากนั้นก็เริ่มอัดน้ำยาเข้าในถังด้วยปั๊มน้ำยาเข้าไปในเนื้อไม้แทนที่อากาศที่ดูดออกมา แล้วจึงนำไม้เข้าไปใส่ในห้องอบแห้งซึ่งจะช่วยให้ไม้อยู่ตัวไม่ยืดไม่หดเมื่อนำไปใช้งาน

E-mail : thana@thailandbamboo.com


มะระกอ

มะละกอ เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

เนื้อหา


ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แยมมะละกอสุก
.: HOME
 
  ส่วนประกอบ
 1. เนื้อมะละกอสุกจนงอมยีในตะแกรงให้ได้ 3 ถ้วย
2. น้ำตาลทรายขาว 2-2 ½ ถ้วยครึ่ง
3. น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
  กรรมวิธี
 1. นำเนื้อมะละกอสุก น้ำตาลทรายขาว น้ำมะนาว ขึ้นตั้งไฟปานกลางคนอยู่เรื่อยๆ
2. เคี่ยวจนส่วนผสมเกาะกันเป็นก้อนในน้ำไม่แตกกระจายก็ถือว่าใช้ได้ยกลงปล่อยไว้ให้เย็น
3. บรรจุลงในขวดที่ฆ่าเชื้อแล้วปิดฝาให้สนิทตักแบ่งออกมาแล้วควรนำส่วนที่ไม่ได้รับประทานแช่ตู้เย็นเพื่อคงอุณหภูมิไว้ให้เก็บได้นานๆ
  เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์
 1. ภาชนะปรุงอาหาร
2. ขวดแก้ว
  แหล่งที่มา
 108 การถนอมอาหารการแปรรูป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กำแก้ว, 2547.
http://siweb.dss.go.th/otop/show_subhead.asp?tableaid=88&aid=246

วันฮาโลวีน

วันฮาโลวีน เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น (jack-o'-lantern)
การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน
ประวัติ
วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น
บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น
การเล่น trick or treat ตามบ้านคน
ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้
ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ได้ขนมในที่สุด

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช วันนี้ (23 ตุลาคม 2554) เวลา 8.39 น. ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน  นายกำธร  ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่าสาขาอาชีพ ได้พร้อมใจกันแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตครบรอบปีอีกวาระหนึ่ง
ทั้งนี้ มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน วางพวงมาลา จำนวน 68 หน่วยงาน และมีผู้ร่วมบริจาคสมทบมูลนิธิชาวแม่ฮ่องสอนน้อมเกล้าถวายพระปิยมหาราช เป็นจำนวนเงิน 24,149 บาท
วันปิยะ1.jpgวันปิยะ2.jpg