วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

 สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

 ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]

ไม้ไผ่แปรรูป
ไม้ไผ่ ถือเป็นพืชที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน เราสามารถนำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอาหาร สร้างบ้านเรือน ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ทำเครื่องดนตรี ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนี้ในบางประเทศยังมีการวิจัยไม้ไผ่ผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มและสกัดเป็นน้ำมันดิบเพื่อใช้เป็นพลังงาน เรียกว่าเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนอย่างแท้จริง

สำหรับในแวดวงอุตสาหกรรมไม้แปรรูปนั้นต้องยอมรับกันตามตรงว่าไม้ไผ่ยังมีข้อด้อยในการนำมาใช้งานหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาหลักเรื่องแมลงในเนื้อไม้ ทั้งยังไม่มีรูปแบบไม้ให้เลือกใช้หลากหลาย คอลัมน์ “ดูเขาทำ ฟังเขาพูด” ฉบับนี้ จะพาไปชมการผลิตไม้ไผ่ที่ลบความคิดแบบเดิมๆข้างต้นให้กลายเป็นไม้ที่ทนทาน ใช้งานได้ดีไม่แพ้ไม้ประเภทอื่น อยากรู้ว่าเป็นอย่างไรตามไปชมกันค่ะ


ไปดูแหล่งไม้ไผ่กันถึงถิ่น
ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ไผ่มากมายกระจัดกระจายขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค สำหรับแหล่งไม้ไผ่แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งที่หลายคนรู้จักกันดีคือจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เขตจังหวัดนี้เราก็เห็นสวนไผ่เป็นระยะ และผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่หลากหลายชนิดตลอดสองข้างทาง ซึ่ง คุณธนา ทิพย์เจริญ เจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัท พิมธา จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ภายใต้แบรนด์ Za-baai Bamboo เล่าว่าเขาเป็นคนที่นี่และเห็นไม้ไผ่มาตั้งแต่เด็ก จึงคิดว่าไม้ไผ่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้อีกมากมาย นอกเหนือไปจากรูปแบบที่เห็นกันตามท้องตลาดทั่วไป

“ที่นี่เป็นแหล่งไม้ไผ่อยู่แล้วครับ ผมมองว่าน่าจะมีอะไรที่พัฒนาไปจากผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านทั่วไปทำอยู่ อะไรที่จะเพิ่มมูลค่าได้สูงกว่าแค่นำมาทำแคร่หรือเครื่องจักสาน ซึ่งจริง ๆแล้วในตลาดโลกมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่มานาน อาจเทียบได้ว่าไปไกลกว่าที่คนไทยรู้จักกันถึง 50 ปี เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อาร์เจนตินา ประเทศเหล่านี้มีการนำไม้ไผ่มาสร้างอาคารกันอย่างจริงจัง ซึ่งสิ่งที่ผมทำอยู่คือพยายามไล่ตามนานาชาติให้ได้มากที่สุด

“ที่นี่ก่อตั้งมาได้ 12 ปีครับ เริ่มแรกผมผลิตสินค้าทั่วไป ตัดไม้มาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าอี้ และเริ่มพัฒนาแบบจากไม้ท่อนกลมๆมาทำให้แบนใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นพื้นปาร์เกต์ ซึ่งพอเริ่มทำไม้ไผ่เป็นแผ่นแล้ว จะทำอะไรก็ง่ายขึ้น เรียกว่านำไปสร้างบ้านได้ทั้งหลังเลยครับ สำหรับผลงานที่ภูมิใจที่สุดคือโครงการ Soneva Kiri by Six Senses เกาะกูด รีสอร์ตระดับห้าดาว ซึ่งใช้ไม้ไผ่แปรรูปจากที่นี่ไปใช้ตกแต่งภายในห้องพักและทำเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด

Tip ไม้ไผ่ที่นำมาผลิตทั้งหมดมาจากจังหวัดปราจีนบุรี แถบอำเภอเมืองฯและประจันตคาม บางส่วนสั่งจากจังหวัดนครนายก ชนิดของไม้ไผ่ท้องถิ่นนี้คือไผ่ตงซึ่งมีเนื้อหนา ลำต้นใหญ่ ยาวและตรง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5-8 นิ้ว อยู่ในสกุล Dendrocalamus ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับไผ่ซางในแถบภาคเหนือ มีความแข็งแรง จึงนิยมนำมาใช้กับงานโครงสร้างต่าง ๆ นอกจากไผ่ตงแล้ว ยังมีไผ่เลี้ยงอยู่ในสกุล Bambusa ซึ่งเป็นไผ่ขนาดเล็ก ลำเล็กสุดขนาดไม่เกิน 2.5 นิ้ว นิยมทำเป็นงานตกแต่งแบบโชว์ไม้ทั้งลำ
ภาพที่ 2 ไม้ไผ่ที่นำมาใช้งานต้องมีอายุที่เหมาะสม (ประมาณ 3 ปีขึ้นไป) หากใช้ไม้อ่อนเกินไปเนื้อไม้จะยุบตัว

ถาม-ตอบ เรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับไม้ไผ่
ระบบการเตรียมไม้ไผ่เพื่อนำไปผลิตเป็นวัสดุตกแต่งบ้านของที่นี่จะใช้วิธีเช่นเดียวกับการผลิตไม้ทั่วไป จึงสามารถยืดอายุการใช้งานได้นานถึง 10-20 ปี อย่างไรก็ตามหลายคนอาจยังมีสงสัยเกี่ยวกับไม้ไผ่ ซึ่ง

“บ้านและสวน” หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ
บ้านและสวน : ไม้ไผ่เป็นไม้ราคาถูก การอัดน้ำยาเพื่อรักษาคุณภาพไม้จะคุ้มค่าจริงหรือ
Za-baai Bamboo : ประเทศไทยมีไม้ให้เลือกใช้หลายชนิด คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมากกว่า การพัฒนาไม้เนื้ออ่อนจึงไม่มีมากนักและยังถูกมองข้ามประโยชน์ของมันไป ไม้ไผ่ถือว่าเป็นไม้ราคาถูก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว ความคิดที่จะนำไม้ไผ่มาอัดน้ำยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ หลายคนจึงรู้สึกว่าแพงและไม่คุ้มค่า แต่จริง ๆแล้วไม้ไผ่หลังจากอัดน้ำยาและอบแห้งเรียบร้อย ราคาจะสูงกว่าไม้ไผ่ธรรมดาไม่มากนัก แต่ใช้งานได้ยาวนานขึ้นหลายเท่าตัว

บ้านและสวน : ไม้ไผ่แปรรูปเป็นอะไรได้บ้างและมีข้อดีอย่างไร
Za-baai Bamboo : เดิมทีเราเน้นทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่เป็นหลัก แต่ปัจจุบันหันมาพัฒนาเป็นวัสดุตกแต่งผิวและสร้างบ้าน เช่น พื้นปาร์เกต์ ฝ้าเพดาน ผนัง เสา และหลังคา ซึ่งความสวยงามอยู่ที่ลวดลายของเนื้อไม้ที่แตกต่างจากไม้ชนิดอื่นอย่างสิ้นเชิง เป็นความสวยงามเฉพาะตัว เมื่อนำไปทดสอบพบว่ามีความแข็งแรงสูง รับแรงกดได้สูงมากโดยไม่หัก เมื่ออบไม้จนแห้งไม้จะมีการเซตตัวไม่ยืดไม่หด และมีการบิดตัวน้อย แต่จุดอ่อนคือเหมาะสำหรับใช้งานภายในมากกว่างานภายนอก

บ้านและสวน : มีวิธีการเตรียมไม้ไปใช้งานอย่างไรบ้าง
Za-baai Bamboo : เราเริ่มศึกษาค้นคว้าโดยเริ่มจากหาวิธีป้องกันมอดก่อนอันดับแรก ใช้เวลาอยู่ประมาณ 2-3ปี จนเข้าใจ จากนั้นก็เริ่มพัฒนาเรื่อยมา การผลิตใช้โดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Vaccum Pump) จนกระทั่งอากาศภายในถังรวมถึงภายในเนื้อไม้ออกจนหมดจึงไม่มีสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้ แมลงหรือไข่ที่ติดมาจึงตายหมดแน่นอน จากนั้นก็เริ่มอัดน้ำยาเข้าในถังด้วยปั๊มน้ำยาเข้าไปในเนื้อไม้แทนที่อากาศที่ดูดออกมา แล้วจึงนำไม้เข้าไปใส่ในห้องอบแห้งซึ่งจะช่วยให้ไม้อยู่ตัวไม่ยืดไม่หดเมื่อนำไปใช้งาน

E-mail : thana@thailandbamboo.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น